น้ำตาลแอบแฝง

วิธีรับมือกับ น้ำตาลแอบแฝง

แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นคนชอบกินขนม ของจุบจิบ เช่น เค้ก โดนัท ขนมหวาน น้ำหวาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ได้รับน้ำตาลเลยนะ  คุณอาจได้รับ น้ำตาลแอบแฝง ได้ตลอดทั้งวันจากอาหารเค็ม เผ็ด หวาน อาหารรสอร่อย รสจัด ซอสปรุงรส ฯลฯ อย่างแน่นอน


ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า ไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 6 ช้อนชา  ซึ่งเดาได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ได้รับเกินมากกว่า 3 เท่าแน่ๆ

น้ำตาลแอบแฝงที่ว่านี้เราหมายถึงน้ำตาลทราย น้ำเชื่อม น้ำตาลปี๊บ น้ำผึ้ง น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลโตนด และน้ำตาลอื่นๆที่ถูกสกัดออกมา ที่คนเราใช้เติมอาหารนะ  ไม่ได้พูดถึงน้ำตาลที่อยู่ในผักผลไม้ ซึ่งมันคือธรรมชาติที่ดีอยู่แล้ว

น้ำตาลพวกนี้แหละคือต้นเหตุของโรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ และความอ้วน บทความนี้จึงจะพามาเรียนรู้วิธีรับมือกับ น้ำตาลแอบแฝง เหล่านี้กันค่ะ


 

วิธีรับมือกับ น้ำตาลแอบแฝง

1. อ่านฉลากให้เป็น

ฝึกดูฉลากหาน้ำตาลให้เป็น แล้วจะตกใจว่ามันเยอะขนาดนี้เชียวหรือ ซอสเค็มๆมีน้ำตาลด้วยหรือ น้ำจิ้มเผ็ดๆมีน้ำตาลเยอะขนาดนี้ได้ไง ขนมปังจืดไม่เห็นหวานเลยแต่ก็มีน้ำตาล


 

2. น้ำตาลในชื่อแฝง

การดูฉลากไม่ใช่กวาดสายตามองหาแต่คำว่า “น้ำตาล” อย่างเดียวนะ  ยังต้องหาคำอื่นๆที่สื่อว่ามันคือน้ำตาลเหมือนกัน ทั้งๆที่มันไม่ได้เขียนว่า “น้ำตาล”  เช่น น้ำเชื่อมฟรุ๊กโตส , High fructose corn syrup , syrup , น้ำเชื่อมกลูโคส , กากน้ำตาล ,น้ำผึ้ง , เมเปิ้ลไซรัป , กลูโคส , ซูโครส , อะซีซัลเฟม , nectar , แอสปาแตม , stevia , แซคคารีน . ซูคราโลส  , ซอบิทอล , ไซลิทอล


 

3. เลือกแบบ No sugar

ให้ความสำคัญกับอาหารที่น้ำตาลต่ำ หรือไม่มีน้ำตาล ดีกว่า ไขมันต่ำ หรือไร้ไขมัน  เพราะน้ำตาลเราสามารถได้จากผลไม้และผักอยู่แล้ว  ซึ่งน้ำตาลที่เติมเข้ามามันไม่ได้ทำให้รู้สึกอิ่มเลย  แต่นมสูตรปกติซึ่งมีไขมันธรรมชาติจากวัว มันทำให้อิ่มได้นะ


 

4. ไม่เติมน้ำตาล

ทั้งชา โกโก้ กาแฟ กับข้าว ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำตาลเลย  ถ้าเคยชินกับการใส่น้ำตาล ให้ลองลดปริมาณดูก่อน จาก 3 เป็น2 และจาก 2 เป็น1  และสุดท้ายคือพยายามไม่เติมน้ำตาลเลยซักนิด

เราสามารถใช้ความหวานจากผัก เช่น หัวหอมใหญ่ แครอท ฟักทอง ข้าวโพด เก๋ากี๋ พุทราจีน รากบัว


 

5. คิดถึงโปรตีนกับไขมันดีกว่า

เชื่อหรือไม่ว่าความอ้วน และโรคเรื้อรังต่างๆ เกิดจากการบริโภคน้ำตาลเกินแทบทั้งสิ้น แม้แต่โรคไขมันสูงก็ตาม ก็ไม่ใช่มาจากการกินไขมันเยอะซะทีเดียว  แต่มาจากการเกิดความเสื่อมของเซลล์ ซึ่งน้ำตาลนี่แหละเป็นต้นเหตุของความเสื่อมตัวหนึ่ง

น้ำตาลกินแล้วไม่อิ่มนาน แต่โปรตีนและไขมัน กินแล้วอิ่มนาน อยู่ท้อง  แต่การเลือกโปรตีนและไขมัน ก็ต้องเลือกแต่อาหารที่ไม่แปรรูปด้วย

โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว

ไขมัน เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์  แต่ต้องระวังน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันปาล์ม ฯลฯ เพราะล้วนแต่ต้องผ่านการแปรรูปทั้งสิ้น


 

6. อย่าพึ่งพาสารให้ความหวานแทนน้ำตาล

สารให้ความหวามแทนน้ำตาลมันไม่มีแคลอรี่ก็จริง  แต่มันจะทำให้รู้สึกอยากน้ำตาลจริงๆมากขึ้น  ต่อให้กินน้ำอัดลมแบบไดเอ็ท เราก็ยังอยากกินอย่างอื่นอีกอยู่ดี


 

7. เบี่ยงเบนให้เป็นรสอื่นแทน

ใครๆก็รู้ว่าอาหารไทย รสหวานขนาดไหน แม้แต่ของคาว กับข้าวก็หวานไปหมด  ก็เพราะเราติดรสแบบนี้มาตั้งแต่เด็ก  ถ้าไม่ใช่รสนี้ก็จะหาว่าไม่อร่อยทันที

เราลองเบี่ยงจากรสหวานให้เป็นรสอื่นๆ เพื่อยังคงความมีรสชาติ ไม่จืดชืดจนเหมือนน้ำล้างจาน เช่น

เผ็ดเล็กๆ โดยใช้พริกไทยป่น พริกไทยเม็ด ขิง ผงกะหรี่ เครื่องเทศต่างๆ ฯลฯ

หวานธรรมชาติ โดย อบเชย หัวหอม รากผัก ฯลฯ

เปรี้ยว โดย มะขามเปียก มะนาว มะกรูด มะเฟือง ฯลฯ


 

8. ไม่ดื่มเครื่องดื่มรสหวานทุกชนิด

น้ำอัดลม ชาขวด น้ำสมุนไพร เครื่องดื่มชูกำลัง สปอร์ตดริ้ง นมหวาน โกโก้หวาน กาแฟหวาน เครื่องดื่มเพื่อความสวยความงามทั้งหลายที่มีน้ำตาล นมเปรี้ยว  เครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลที่สูงประมาณว่าดื่มขวดเดียวหมดโควต้าไปทั้งวันเลย


 

9. ก็ได้บ้างบางโอกาส

เรายังคงมีช่วงเวลาให้ความสุขกับตัวเองได้บ้าง อาจไม่ถึงกับต้องอยู่กันคนละโลกกับน้ำตาลไปเลย  เพียงแค่จัดวินัยให้ตัวเองซักหน่อย เช่น กินได้ 2 ชิ้น หลังมื้อเย็นเท่านั้น หรือ กินเค้กได้เฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น อะไรประมาณนี้ค่ะ


 

10. กินแค่ให้รู้รส

อย่างที่บอกว่าเราเป็นมนุษย์ คงจะไม่สามารถตัดขาดกิเลสได้ แต่ต้องควบคุมอารมณ์และสติให้อยู่ ชิมให้พอรู้รสชาติ ไม่ใช่ปักหลักกินให้อิ่ม ไอศครีม 1 ลูกเล็กถือว่าเพียงพอกับคำว่ารู้รสแล้ว  ไม่ต้องถึงขั้นเป็นชามหรือทั้งควอท


โดย ezygodiet.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.