ผู้ต้องสงสัย เบาหวาน

 

ผู้ต้องสงสัย เบาหวาน

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด สร้างความทุกข์ทรมาน และเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากมาย  ถ้าคุณอยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ   เพราะคุณกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น เบาหวาน

  • พ่อ / แม่ / พี่ / น้อง เป็นเบาหวาน
  • อ้วน / อ้วนลงพุง
  • หญิง วัดรอบพุงได้มากกว่า/เท่ากับ 80 ซม.
  • ชาย วัดรอบพุงได้มากกว่า/เท่ากับ 90 ซม.
  • ความดันโลหิตสูงมากกว่า/เท่ากับ 140/90 มม.ปรอื หรือได้รับยาลดความดันโลหิต
  • ไขมันไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า/เท่ากับ 250 มก./ดล.
  • ไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) น้อยกว่า 35 มก./ดล.
  • มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ บุตรมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กก.
  • มีโรคหลอดเลือดหัวใจ อัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงขาหรือเท้าตีบ  มีถุงน้ำหลายถุงที่รังไข่
  • หากไม่อยู่ในกลุ่มข้างต้น แต่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรสงสัยว่าเป็นเบาหวาน
  • ปัสสาวะบ่อย
  • หิวน้ำบ่อย  ดื่มน้ำบ่อย
  • กินจุ  แต่น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • แผลหายยาก
  • ชามือ ชาเท้า

ควรติดต่อสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลทันที  ก่อนไปเจาะเลือดต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ถ้ากระหายน้ำ สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)

 

เบาหวาน ป้องกันได้ด้วยการ

  • ทานผักมากๆ  อาหารที่ไม่หวานมาก ลดอาหารจำพวกแป้ง ของทอด ข้าวเหนียว ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มี่น้ำตาล
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาที ทุกวัน หรืออย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
  • เบาหวาน ควบคุมได้ด้วยการ
  • ควบคุมอาหาร  ออกกำลังกาย  ควบคุมน้ำหนัก ไม่สูบบุหรี่  ทานยาที่ได้รับสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

 

เบาหวาน  รักษาไม่หายแต่ควบคุมได้ด้วยการ

  • โภชนบำบัด  ทานอาหารให้ครบทุกหมู่ เพิ่มผักมากขึ้น ปลาและเต้าหู้บ่อยขึ้น ทานรสจืด ไม่เค็ม ไม่หวาน
  • จำกัดข้าว แป้ง ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ประมาณ 2 กำปั้นต่อมื้อ
  • ทานผลไม้ 1 ส่วนต่อมื้อแทนขนมหวาน โดยให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

กล้วยน้ำว้า 1 ผล , ฝรั่ง 1/ ผลใหญ่ หรือ  ผลเล็ก

ส้มขนาดกลาง 1 ผล

กล้วยหอม 1/2 ผล

แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก

ชมพู่ 2 ผล

มะม่วงอกร่องสุก 1/2 ลูก

เงาะ 4-5 ผล

ลองกอง 10 ผล

มะละกอสุก 8 ชิ้นคำ

แตงโม 10 ชิ้นคำ

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล กาแฟ หรือชาสำเร็จรูป รวมทั้งน้ำผลไม้ ให้ใช้น้ำตาลเทียมใส่ในเครื่องดื่มแทนน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลฟรุกโตส
  • ทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์  อาหารใส่กะทิ  รวมทั้งขนมอบ เช่นพาย ปรุงอาหารโดยใช้น้ำมันน้อยที่สุด  ใช้น้ำมันพืช แทนน้ำมันสัตว์
  • ออกกำลังกาย ควรทำวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์  เช่น เดินเร็ว ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ เต้นรำ รำไม้พลอง เต้นแอโรบิก โยคะ จี้กง ฯลฯ

 

ยาเบาหวาน

  • ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่2 (เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน มักเกิดในผู้ใหญ่) ซึ่งพบได้มาก 95%  ถ้าทั้งออกกำลังกายและโภชนบำบัดแล้ว แต่ยังควบคุมน้ำตาลไม่ได้ตามเป้าหมาย  ต้องเริ่มทานยาเม็ดรักษาเบาหวานตามคำแนะนำของแพทย์ อาจเริ่มด้วยยาขนานเดียว หรือยา 2 ขนาน ตามความรุนแรงของโรค
  • ข้อสำคัญคือ ต้องทานตามที่ระบุไว้ข้างซอง เช่น ยาบางชนิดต้องทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง  บางชนิดต้องทานพร้อมอาหารคำแรก  บางชนิดต้องทานหลังอาหาร ถึงจะได้ประสิทธิภาพดี  และผลข้างเคียงของระบบทางเดินอาหารน้อยลง
  • ถ้าเป็นเบาหวาน 5-10 ปีขึ้นไป ตับอ่อนจะเสื่อมหน้าที่ลง  จำเป็นต้องรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน
  • สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (ร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่พอ มักเกิดในเด็ก) ต้องเริ่มรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน ร่วมกับการปรับพฤติกรรมชีวิต และอาจมียาทานร่วมด้วย

 

โรคแทรกซ้อน

  • การควบคุมโรคอื่นๆที่พบร่วมด้วย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  • การได้รับความรู้เรื่องเบาหวาน  เป้าหมายคือการคุมเบาหวานเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน การดูแลตัวเอง เช่น การดูแลเท้า  การตรวจน้ำตาลด้วยตัวเอง การดูแลไม่ให้น้ำตาลต่ำเกินไป
  • โรคแทรกซ้อน ได้แก่ เบาหวานจอตา ซึ่งทำให้ตาบอดได้ , เบาหวานลงไต ทำให้ไตวายเรื้อรัง , เบาหวานที่เส้นประสาทส่วนปลาย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.