อึ้ง! สารตกค้าง ในผักผลไม้
พบว่าผักผลไม้ที่ขายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ในห้างยันตลาดสด มี สารตกค้าง เฉลี่ย 55.9% ของผักผลไม้ทั้งหมด แต่เฉพาะที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน MRL ของไทยคิดเป็น 46.6%
แปลว่า จากผักผลไม้ที่สุ่มตรวจทั้งหมด พบสารตกค้างอยู่เกินครึ่งมาหน่อยนึง อันนี้ผิดคาดนิดหน่อย ตอนแรกนึกว่าจะมีสารตกค้าง100%เลยด้วยซ้ำ
.
นึกง่ายๆว่า ถ้าเราหยิบผักผลไม้มา10ชนิด จะมีอันที่มีสารตกค้างอยู่ 5-6 อัน แต่เจ้า5-6อันนี้ จะมี 4-5 อัน ที่มีสารตกค้างเกินมาตรฐาน ส่วนอีก1-2อันที่เหลือไม่ใช่ไม่มีนะ แต่มันมีไม่เกินมาตรฐาน
.
และที่น่าตกใจคือ ผักผลไม้ที่ได้รับมาตรฐานQ กลับเป็นส่วนที่มีสารตกค้างมากที่สุด ส่วนผักผลไม้ที่ไม่ได้รับมาตรฐานกลับมีสารตกค้างน้อยกว่า (แปลกมาก!)
.
ในส่วนของผัก สมมุติว่าสุ่มมา 10 อัน พบสารตกค้างมากถึง 8-9 อัน และที่ไม่ผ่านเกณฑ์มี 6-7อัน
.
ที่น่าสนใจคือ ผักผลไม้ที่ขายในห้าง กลับมีสารเคมีมากกว่าที่ขายในตลาด
.
ผักผลไม้ที่มีสารตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง อย่าตกใจนะ มันมีสารตกค้าง100%เลย แถมมีมากกว่าเกณฑ์ด้วย
.
รองลงมา ได้แก่ ฝรั่ง 69% แอ๊ปเปิ้ล 58% คะน้า 54% กะเพรา 50% สตรอเบอร์รี่ 50% และส้มจีน 50% ถั่วฝักยาว 43% แตงโม 15% พริกแดง 8%
.
ส้ม แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีสารตกค้างสูงกว่าเกณฑ์หลายเท่าตัวเลยทีเดียว
.
โดยเฉพาะส้มสายน้ำผึ้ง มีสารตกค้างมากถึง 15 ชนิด (จะใส่อะไรกันนักหนาไม่รู้นะ) แล้วที่น่าตกใจยกกำลังสองก็คือ สารเคมีบางตัวมันสามารถซึมลงเนื้อส้มได้ด้วยนี่สิ แล้วมันมีความเข้มข้นพอๆกับบนเปลือกเลยด้วย เราจะทำยังไงกันดีล่ะนึกว่าปอกเปลือกแล้วจะปลอดภัย กลับไม่ปลอดภัยซะแล้ว
.
ทางออกของผู้บริโภค คงไม่ค่อยมีทางออกมากไปกว่าการล้างผักผลไม้ให้สะอาด ใช้เบคกิ้งโซดา หรือด่างทับทิม แช่ผักผลไม้ก่อนกินซัก 15-20 นาที แล้วล้างออกอีก 2-3 รอบ
.
และอย่าลืมว่า การต้มหรือผ่านความร้อน ไม่ได้ช่วยให้สารเคมีหายไปได้นะ
.
ส่วนหน่วยงานที่ต่อต้านเรื่องนี้ ก็คงต้องต่อสู้เพื่อผู้บริโภคกันต่อไป จี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาครัฐเข้มงวด และจริงจังกับเรื่องนี้กันมากขึ้น เขาก็คงทำได้แค่นั้น
.
ก็แปลกที่ส่งเสริมให้กินผักผลไม้กันมากๆ แต่กลับไม่ใส่ใจเรื่อง สารตกค้าง ในผักผลไม้ เราเป็นผู้บริโภคก็คงต้องพึ่งตัวเองแล้ว อย่ารอหน่วยงานรัฐเลย
.
สรุปข้อมูลจาก chaladsue.com