โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration ; AMD)

แอดมินเห็นว่าทุกวันนี้ เราใช้สายตากันมากขึ้น โดยเฉพาะการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็ปเล็ต ทีวี เราจึงน่าจะทำความรู้จักกับ โรคจอประสาทตาเสื่อม กันไว้ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง  และเริ่มถนอมดวงตาของเรากันดีกว่าค่ะ

.

การที่เราได้เห็นสิ่งต่างๆเกิดจากการที่ แสงไปกระทบกับสิ่งของที่เรามอง แล้วสะท้อนเข้ามายัง จอประสาทตา (Retina)  ซึ่งจะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า  แล้วส่งผ่านไปยัง เส้นประสาทตา (Opitc Nerve) แล้วค่อยส่งสัญญาณไปยังสมอง

.

บริเวณประสาทตานี้ จะมีจุดที่ไวที่สุดเรียกว่า แมคูลา ลูเทีย(Macula Lutea)  ซึ่งจะมีเซลล์รับแสงนับล้านๆเซลล์  ที่ทำให้ภาพคมชัด หากจุดนี้ถูกทำลาย ภาพที่เราเห็นก็จะมัว ขาดความคมชัด  ถึงเรียกว่า โรคจอประสาทตาเสื่อม

.

โรคจอประสาทตาเสื่อม มันน่ากลัวตรงที่ มันค่อยๆเป็นทีละนิดโดยที่เราไม่รู้ตัว  กว่าจะออกอาการก็อายุมากแล้ว  และอาจทำให้ตาบอดเลยก็ได้

 .

.

ประเภทของโรคจอประสาทตาเสื่อม

1. โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง   พบได้มากที่สุดถึง 90% เกิดจากการสลายตัวของเซลล์ไวแสงที่ลูกตา

2. โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปีย   พบแค่ 10% เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดตรงจอประสาทตา ทำให้เลือดออก เป็นแผลตรงจอประสาทตา  ซึ่งมักจะมีจุดบอดเวลามอง

 .

.

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยง

อายุ

การสูบบุหรี่

ม่านตาสีอ่อน

แสงแดด

การกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ

กรรมพันธ์ุ

เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

.

.

วิธีป้องกัน โรคจอประสาทตาเสื่อม

ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงกลไกของการมองเห็นก่อน  คือเมื่อแสงผ่านเข้ามาในตาของเราแล้ว แสงก็จะผ่านกระจกตา เพื่อกรองแสงยูวีบางส่วนไว้

แสงที่เหลือก็ผ่านไปยังจอประสาทตา (retina)  คลื่นแสงที่เราสามารถมองเห็นได้นั้น  เป็นคลื่นแสงสีฟ้า ซึ่งจะมีพลังงานสูง  ทำให้เกิดอนุมูลอิสระได้ในเซลล์ของจอประสาทตา

ในจอประสาทตานี้  จะมีจุดโฟกัสที่เรียกว่า macula lutea  ซึ่งจะมีสารสีเหลืองได้แก่ lutein กับ zeaxanthin ซึ่งจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

สารลูทีน  และซีแซนทีนนี้  จะช่วยกรองแสงสีฟ้า ให้ตกไปที่ macula lutea น้อยลง ทำให้ลดการสร้างอนุมูลอิสระได้

ดังนั้นสารลูทีน และซีแซนทีน จึงเป็นสารที่ป้องกันความเสื่อมของดวงตาที่สำคัญที่สุด

.

.

พบสารลูทีน และซีแซนทีนได้จากที่ไหน

ลูทีน และซีแซนทีน เป็นสารปะรกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์  แต่จะแตกต่างกับสารอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์เหมือนกันตรงที่  ลูทีน และซีแซนทีนจะไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ

ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างสารทั้งสองนี้ขึ้นได้เอง  จึงต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

อาหารที่มีลูทีน และซีแซนทีนสูง ได้แก่ ผักคะน้า และ ผักโขม

.

.

ตารางแสดงปริมาณ ลูทีน/ซีแซนทีน ในอาหาร

อาหาร ปริมาณ ลูทีน/ซีแซนทีน
(มก./100ก.)
ผักคะน้า (สุก) 15.8
ผักโขม(ดิบ) 11.9
ผักโขม(สุก) 7.1
ผักกาดแก้ว(ดิบ) 2.6
บร็อคโคลี่(สุก) 2.2
ข้าวโพด(หวาน,สุก) 1.8
ถั่วลันเตา(เขียว,สุก) 1.4
แขนงกะหล่ำ(สุก) 1.3
กะหล่ำปลี(ขาว,ดิบ) 0.3
ไข่แดง(ขนาดกลาง) 0.3

ข้อมูลจาก pharmacy.mahidol.ac.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.