โปรตีนสัตว์-กระดูกพรุน

 osteoporesis

การกินโปรตีนจากสัตว์ทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

(รวมพวกผลิตภัณฑ์จากนมด้วย)

ดิฉันอ่านแล้วยังรู้สึกว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ต้องค้นหา

ได้ความโดยสรุปว่า

การลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

ไม่ใช่การเพิ่มแคลเซี่ยมเพียวๆ หรือกินเม็ดแคลเซี่ยมเสริม

แต่เป็นการทำให้แคลเซี่ยม-ฟอสฟอรัส สมดุลกัน

ต่อให้เรากินแคลเซี่ยมไปเยอะแยะ แต่เอาไปใช้ไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์

มีการวิจัยของCornell-China-Oxford Project on Nutrition, Health and Environment,

โดยนักโภชนาการชีวเคมี T. Colin Campbell

เขาสรุปว่า

การกินเนื้อสัตว์ในปริมาณที่น้อย มีผลทำให้ลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก

รวมถึงผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์ด้วย

T. Colin Campbell ได้เล่าว่า

คนอเมริกันที่กินนมจากสัตว์กันต่างน้ำเป็นโรคกระดูกพรุน

มากกว่าชาวเอเชียทีกินนมจากสัตว์กันน้อยกว่า

หรือจะเปรียบเทียบเอเชียด้วยกันแล้ว

T. Colin Campbell ได้ทดลองจากผู้หญิง 800 คนในจีน เทียบกับชาวมองโกเลีย

ชาวมองโกเลียที่กินเนื้อสัตว์ และนมจากสัตว์ปริมาณมาก

แต่กินผักน้อยมากๆ พบโรคกระดูกพรุนมากกว่า

ชาวจีนที่กินผักมากกว่า กินเนื้อสัตว์น้อยกว่า

นอกจากนี้ยังพบว่า คนที่กินมังสาวิรัติ มีความหนาแน่นของมวลกระดูกมากกว่า

รวมถึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

เพราะในเนื้อสัตว์มี ไขมันสูง แต่เส้นใยต่ำ

แต่ในพืชมี ไขมันต่ำ แต่เส้นใยสูง แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเพียบอีกด้วย

.

T. Colin Campbell ได้ร่วมเขียนงานวิจัยใน

The American Journal of Clinical Nutrition (both 1993),

the European Journal of Clinical Nutrition (1994),

 Osteoporosis International (1994),

และ  Osteoporosis in Asia: Crossing the Frontiers

สรุปใจความสำคัญได้ว่า

การกินผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีผลทำให้สูญเสียแคลเซี่ยม

ออกมาทางปัสสาวะได้มากกว่าการกินพืช

เขาย้ำว่าการลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนนั้น

จงให้ความสำคัญกับการทานสารอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

หรือให้ความสำคัญกับความสมดุลของอาหารที่หลากหลาย  มากกว่าการเน้นกินแคลเซี่ยมเพียวๆ

.

ไม่พบลิงเป็นโรคกระดูกพรุน

ในส่วนของเวป gorillaprotein ซึ่งได้เปรียบเทียบคนกับกอลิล่า ซึ่งมีความใกล้เคียงกันที่สุด

เขาว่า ลิงกอลิล่า ไม่กินเนื้อสัตว์ กินแต่ผักผลไม้ แต่ไม่เคยเจอกอลิล่าตัวไหนเป็นโรคกระดูกพรุนเลย

.

เป็นเพราะอะไร

สาเหตุที่ทำให้การกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์  เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนเพราะว่า

ในโปรตีนจากเนื้อสัตว์ มีกรดอมิโน2ตัวที่ชื่อว่า เมไธโอนีน และ ซีสเตอีน

ที่มีกรดซัลเฟอร์รวมอยู่ด้วยกัน ในปริมาณที่มากกว่าโปรตีนในพืช

.

หมายถึงอะไรทราบมั้ยคะ

หมายถึงว่า ขณะที่ร่างกายเราเผาผลาญอาหาร ไอ้ตัวซัลเฟอร์ มันจะกลายเป็นกรดซัลฟิวริก

ถ้านึกไม่ออก มันคือ “กรดกำมะถัน” หรือเขาเรียกกันว่า “กรดแบตเตอรี่่” นั่นเอง

ซึ่งจริงๆแล้วร่างกายเรา ก็มีการผลิตกรดนี้มาปกติอยู่แล้ว  แต่ถ้ากรดนี้มีปริมาณที่มากเกินไป

ร่างกายก็กำจัดไม่ไหวหรอกค่ะ  แล้วจะเป็นยังไงต่อนั่นหรอคะ

 .

ถังโฟมดับเพลิง

ไอ้เจ้ากรดกำมะถันนี้มันจะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “metabolic acidosis”

หรือกรดในร่างกายเกิน ร่างกายจึงพยายาม หาแคลเซี่ยมเข้ามาดับกรด

เหมือนหาน้ำมาดับไฟ  หรือโฟมขาวๆในถังดับเพลิง

จึงไปดึงแคลเซี่ยมจากกระดูกนั่นเอง

.

กำจัดโฟมยังไง

ทีนี้พอแคลเซี่ยมจากกระดูกถูกละลายสู่กระแสเลือด เพื่อมาดับกรด

แคลเซี่ยมก็เหลือสิคะ  มันจะหายไปไหนได้นอกจากต้องถูกเนรเทศออกทางปัสสาวะ

แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ  แคลเซี่ยม มันจะไปเกาะตัวกันที่ไต ทำให้เกิดนิ่วในไตตามมานั่นเอง

ในที่นี้เขารวมถึงทั้งเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหลายด้วย เช่น ชีส นมวัว โยเกิร์ด นมเปรี้ยว

.

ชีวิตที่บาลานซ์

แต่ในความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันเอง ซึ่งผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณเอง

คือการมีงานวิจัยเหล่านี้ออกมานั้น

ไม่ได้หมายความว่าห้ามกินเนื้อสัตว์ ห้ามกินนมหรือโยเกิร์ต

แต่หมายถึง กินในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป  อย่างบางคนกินนมวันละ1-2ลิตร แทนน้ำเลย

แบบนี้ถือว่าเยอะเกินเหตุ หรือกินแต่เนื้อสัตว์ปริมาณมากๆเกินไป

เราควรกินอาหารให้หลากหลาย ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

เน้นอาหารจากพืชเป็นหลัก

อ้างอิงจาก

  • news.cornell.edu/stories/1996/11/eating-less-meat-may-help-reduce-osteoporosis-risk  by Susan S. Lang
  • gorillaprotein.com/monkey_osteoporosis.html

กลับหน้าแรก  ezygodiet.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.