NCDs Reality ตอนที่8

NCDs Reality ตอนที่8 : บทบาทของคนสำคัญ

ครั้งที่แล้ว NCDs Reality ตอนที่7 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่สามารถทำที่ไหนก็ได้ แค่ 1 นาทีก็ทำได้กันไปแล้ว  ครั้งนี้มาเรียนรู้ความสำคัญของคนใกล้ตัว ที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จได้เป็นอย่างดี การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงควบคู่กัน อาสาสมัครทั้ง6 แต่ละคนจะมีวิธีการอย่างไร คนรอบข้างมีบทบาทสำคัญอะไรบ้าง เรามาติดตามกันเลยค่ะ

 

สรุป NCDs Reality ตอนที่7 : บทบาทของคนสำคัญ

(ถอดความให้สำหรับคนที่ไม่มีเวลาดูคลิป 50 นาที หรือดูคลิปไม่ได้นะคะ)

ข้อความบน Line เปิดรายการ

“นี่เธอ ขอบ่นอะไรหน่อยสิ”

“อะไรหรอ”

“ก็แฟนฉันสิ บอกจะเลิกบุหรี่มา 3 เดือนแล้ว  ตอนนี้ยังพ่นควันอยู่เลย”  “แล้วมีเรื่องกินเหล้าอีก บอกจะเลิกมาเป็นปี ตอนนี้ยังกินไม่เว้นวันหยุด”  “ยังไม่หมด เมื่อวานนี้ชวนเขาไปตีแบด ก็ไม่ยอมไป บอกว่าขี้เกียจ”

“แล้วเธอทำยังไง”

“ก็ด่าๆๆๆ บ่นๆๆๆ ชวนทะเลาะ”

“เราว่าเธอลองเปลี่ยนดูมั้ย” “เปลี่ยนจากคนที่สร้างความรำคาญ มาเป็น “คนสำคัญ” “

     เรารู้ว่าการหลีกเลี่ยงกลุ่มโรค NCDs ก็ต้องเปลี่ยนแปลงความเคยชิน  ซึ่งแรกๆล้วนต้องพบอุปสรรค ยิ่งถ้าหากคนใกล้ชิด บ่น ต่อว่า หรือใช้ถ้อยคำแรงเกินไป อาจทำให้ความตั้งใจลดน้อยถอยลง จะดีกว่ามั้ยถ้าเราลองเปลี่ยนทัศนคติ และร่วมสร้างบทบาท “คนสำคัญ” เพื่อช่วยผลักดันให้ห่างไกล กลุ่มโรค NCDs ไปพร้อมๆกัน  เพราะ “ทุกชีวิต ย่อมมีความผูกพัน”

.

คุณ วัฒนชัย ลิ้มสวัสดิ์ (อุ้ย) อายุ 28 ปี

แฟนให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อก่อนไม่ค่อยได้ระวังเรื่องอาหารการกินเท่าไหร่ เวลาไปซื้อกับข้าว ก็เลือกเอง  ห้ามก็ไม่ฟัง พอบ่น ก็บอกว่าเดี๋ยวเดือนหน้าๆ  ก็จากเดือนหน้าตอนนี้ก็กลายเป็นปีๆแล้ว  ผลัดไปเรื่อย เลยขี้เกียจพูด  เบื่อ  เลยให้เขาคิดได้เองแล้วกัน”

“ที่ทำได้ก็เพราะได้กำลังใจที่ดี จากคนรอบข้าง คำพูด คำโน้มน้าว โดยเฉพาะจากครอบครัว”

คุณพ่อให้สัมภาษณ์ว่า “เขาดูเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ทั้งรูปร่าง หน้าตา  หุ่นดูผอมลง  ดูสดชื่น ดูหนุ่มกว่าเดิมเยอะเลย  ดีใจมาก”   “อุ้ยเขาบอกว่า เขาตายไม่ได้ เพราะยังมีพ่อ มีแม่อยู่  ถ้าเขาอ้วน เขาดูแล้ว่าเขาไม่สมบูรณ์  เขาต้องอยู่สู้  ทำให้พ่อให้แม่  พ่อก็รู้สึกตื้นตันใจ ดีใจมาก” พ่อให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตาคลอด้วยความดีใจ

คุณอุ้ยบอกว่า  “เมื่อก่อน ผมอยากกินอะไร แม่ก็หามาให้หมด แม่ก็คงรักลูกแหละ เลยทำให้เต็มที่ มารู้ตัวอีกที เราก็บวมขนาดนี้แล้ว”   “ตอนนี้ แฟนก็ช่วยดูแลเรื่องอาหารให้ ทั้งปอกผลไม้ใส่ตู้เย็นเตรียมไว้ให้ จะช่วยดูเรื่องเมนูอาหาร เขาพยายามให้เราลดด้วยความสุข”

วันนี้ คุณพ่อ คุณแม่ และภรรยา ก็ทำของที่ระลึกมาให้คุณอุ้ยด้วย เป็นกระดาษแผ่นใหญ่เท่าโปสเตอร์  มีเขียนคำให้กำลังใจ ของทั้งพ่อ และแม่  เหมือนเฟรนชิป ดูน่ารักมากเลย

“น่ารักครับ ชอบ เดี๋ยวจะเอาไปติดฝาบ้านไว้” คุณอุ้ยพูดแบบดูเขินๆ

 

 

คุณเจน (ภรรยา) และคุณ สุพิเชษฐ์ สุจารีรัตน์(สามี) อายุ 33 ปี

คุณแม่ของคุณเจนให้สัมภาษณ์ว่า  “เมื่อก่อนนี้ เป็นเด็กไม่อ้วนเลย พอตอนประถมปลายๆ ก็เริ่มกินเก่งขึ้น  ยิ่งเริ่มทำงานก็กินเก่งขึ้นไปอีก  กินน้ำอัดลม เพราะเขาบอกว่าน้ำเปล่ามันไม่อร่อย  ยิ่งมีลูกก็ยิ่งอ้วนเข้าไปอีก”

น้องสาวของคุณเจนให้สัมภาษณ์ว่า “เริ่มรูปร่างขยายตอน ประถมปลายๆเกือบมัธยมต้น  น่าจะมีสาหตุจากการกินเก่ง ไม่ค่อยออกกำลังกาย  ชอบเล่นเกมส์ ดูทีวี”

คุณเจนแสดงความเห็นเกี่ยวกับตัวเองว่า “ไม่อยากให้ลูกๆ เลียนแบบพฤติกรรมของตัวเอง เพราะพฤติกรรมมันเปลี่ยนยาก  ถ้าเด็กๆทำเหมือนเรา  เขาก็จะแก้ยากเหมือนกัน “

“พฤติกรรมที่พวกเราเปลี่ยนแปลงกันคือ ปลอดน้ำหวาน เพิ่มผัก และผลไม้สด เพิ่มการออกกำลังกาย อย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์  แล้วก็ตั้งสโลแกนประจำบ้านว่า ลดหวาน มัน เค็ม เด็กๆก็จะท่องได้หมด  เขาจะรู้ว่า ต่อไปอย่าใส่ซอสเยอะ  ตอนไปกินก๋วยเตี๋ยวก็ไม่ต้องปรุง ถ้าซื้อกลับบ้านได้พริกน้ำปลาใส่ถุงมา เราก็สอนให้เขาหยิบคืนแม่ค้าไปเลย”

“ทุกๆวันเราก็คิดนะว่า เราพยายามสอนให้ลูกๆตั้งใจ ทั้งเรียน และทำอะไรต่างๆ อยากให้เขาตั้งใจ  แต่ทำไมเราทำไม่ได้เอง รู้สึกผิดหวังในตัวเอง ที่เราไม่เคยทำได้เลย  แต่วันนี้ เรารู้สึกดีกับตัวเองมากแล้ว เราสามารถเป็นแบบอย่างให้ลูกๆได้”

“สามีก็ช่วยให้กำลังใจได้ดีมาก  พอไปเดินห้างก็มีคนมาถามว่า เห็นหนูในทีวี หนูทำยังไง เราก็จะบอกเขาว่า จริงๆแล้วเราเชื่อว่าคุณน่ะมีความรู้ แต่สิ่งที่คุณต้องหาคือ กำลังใจ ความรัก แล้วคุณจะทำได้เอง”

.

คุณ ปัญจพล เพชรเกษม (มิ้ว) อายุ 29 ปี  เป็นเบาหวาน

คุณพ่อให้สัมภาษณ์ว่า “เขาเริ่มออกกำลังกาย  แล้วก็เดี๋ยวนี้หยิบยากินเองได้ ไม่ต้องให้เคี่ยวเข็ญมาก”

พี่ชายใหสัมภาษณ์ว่า  “ตัวผมเองก็เป็นเบาหวานจากรรมพันธ์เหมือนกัน แต่หนักกว่ามิ้วมาก เป็นหลายโรค เบาหวานขึ้นตาแล้วด้วย สายตาดูเหมือนเป็นฝ้า  ไตก็ไม่ดี  ก่อนหน้าที่จะรู้ว่าตัวเองเป็นเบาหวาน  ก็กินมาเรื่อยๆ พอเจอปุ๊บก็ตกใจ”

“ผมเลยบอกพ่อว่า  ให้ไปดูแลพี่ชายดีกว่า  เพราะผมพอจะรู้วิธีดูแลตัวเองบ้างแล้ว  เห็นแม่ เห็นพี่ชาย ก็ตระหนักแล้ว  หรือเวลาเดินไปข้างนอก เห็นคนอื่นสูบบุหรี่ กินเหล้า กินไม่เลือก เราก็อยากจะเตือนนะ  อยากเดินไปบอกนะว่า  ระวังนะ  แต่ก็ไม่พูด เพราะเราไม่รู้จัก กลัวโดนเขาต่อยเอา”

“แฟนก็ช่วยได้มาก ช่วยทุกเรื่อง เขาเข้าใจผมดี   ส่วนพี่เลี้ยง คนนี้ดูแลผมมาตั้งแต่เด็ก แม่จ้างมาเป็นพี่เลี้ยงตั้งแต่เขาสาวๆ จนตอนนี้เดินจะไม่ตรงอยู่แล้ว ดูสิ  แต่เขารักผมมากนะ บางทีก็นั่งกินข้าวอยู่ ขี้เกียจเดิน พี่สอนขอน้ำหน่อย  ก็มาแล้ว พี่สอนเอาน้ำมาให้”

“ผมอยากให้ทุกคนในครอบครัวเป็นเสาหลักให้ที่บ้าน ดังนั้นมันต้องเริ่มจากสุขภาพก่อน”

.

 

 

คุณวีรานันท์ แต้ภิรมย์รัตน์ (ส้มโอ) อายุ 25 ปี

“ตอนนี้มันมีปัญหาที่ต้องจัดแจงมากเหลือเกิน เครียดเพราะต้องทำหลายอย่าง เช่น งานที่เยอะมาก ฝึกงานวันละ 9 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์   เรียนภาษาเพื่อไปเรียนต่อ ออกกำลังกายรู้สึกว่ามันดึก  ทำอาหารรับประทานเองที่บ้านก็รู้สึกลำบาก เวลาไปทีทำงานก็ต้องทำกับข้าวไปกินเอง เพราะที่ทำงานมีแต่ของอ้วนๆ  ต้องไปรับส่งน้องชายทุกวันศุกร์  สิ่งที่ต้องทำมันดูเยอะแยะไปหมด”

“แต่ทุกคนไม่ได้กดดันอะไรเลย  หนูเป็นคนที่ทำอะไร แล้วก็คาดหวัง พยายาม บางครั้งก็อยากทำให้มันดีที่สุด สำหรับทุกอย่าง  คาดหวังว่าทุกอย่างต้องดี  เพราะฉะนั้นหนูจะเป็นคนที่เครียดกว่าคนอื่น”

“แม่บอกว่า หนูเป็นคนเลือกที่จะทำเองทุกอย่าง  แต่หนูก็มาโทษในสิ่งที่หนูเลือกเอง มันไม่ควรเป็นอย่างนั้น”

ทางรายการได้เชิญ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิสุขภาพจิต แนะนำว่า “ถ้าเราดูชีวิตของน้องส้มโอ ที่เกิดขึ้นตอนนี้  เราอาจจะสงสัยว่า เธอจะจัดการชีวิตตัวเองยังไง  มีรายการเพียบไปหมด  ถ้าทำอย่างนี้ต่อไป  ร่างกายก็คงรับไม่ไหว เลยเป็นโจทย์ว่า จะต้องตัด หรือลดอะไรลง และจะต้องใส่ใจอะไรเป็นพิเศษ “

“เวลาที่เราต้องเลือกว่าอะไรที่สำคัญจริงๆ  ต้องหาเวลานั่งนิ่งๆ ถอยออกมาดูว่า เรื่องไหนคือความต้องการจริงๆของเรา  เรื่องไหนตอบโจทย์ระยะยาว  เรื่องไหนตอบโจทย์ชีวิตตอนนี้เลย  เราไม่สามารถทำทุกอย่างพร้อมกัน  เราต้องเลือก และจัดลำดับความสำคัญ”

“จริงๆแล้วอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เครียดคือ การตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไป มันก็กลายเป็นแรงกดดัน  การตั้งเป้าหมายสูงเรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตมันก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเราไปตั้งเป้าหมายสูงกับทุกเรื่องมันก็ไปสร้างแรงกดดัน เกิดความเครียด ผลตามมาก็อาจทำไม่ได้ดีซักเรื่อง “

“หลังจากที่คุณหมอแนะนำมา เราก็มาลองจัดแจงเวลาดู  แล้วก็ประจวบเหมาะกับงานที่ต้องไปฝึกที่ว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน สัปดาห์ละ 6 วัน มันสิ้นสุดลงพอดี  เลยมีเวลาที่จะทำกิจกรรมอื่นได้ โดยที่แบบไม่เครียด  มีเวลาจัดสรรเวลาให้ทุกอย่างมันลงตัวดีขึ้นค่ะ”

สรุปแล้ว สำหรับน้องส้มโอต้องลดความกดดัน และลดความเครียด

.

 

จ.ส.อ.ศาทิพ จิตร์แน่น  อายุ 36 ปี

ทางรายการได้ไปถ่ายทำวันที่คุณศาทิพ กำลังสอบปฏิบัติเพื่อผ่านเกณฑ์ไปสอบข้อเขียนต่อ เพราะเป้าหมายคือเป็นนายทหารขั้นสัญญาบัติ  คือ

ต้องดันพื้น(วิดพื้น)ให้ได้ 23 ครั้ง ภายใน 2 นาที ผลที่ได้คือ “ผ่าน”

ลุกนั่ง(ทำคล้ายๆนอนซิทอัพแต่งอเข่า)ต้องทำให้ได้ 28 ครั้ง ภายใน 2 นาที ผลที่ได้คือ “ผ่าน”

วิ่งให้ได้ 12.25 นาที ระยะทาง 2 กิโลเมตร  ผลที่ได้คือ “ไม่ผ่าน” (เกินเวลาไป 30 วินาที)

แต่ก็ยังไม่หมดหวัง เหลือเวลาอีก 1 เดือน  แฟนก็ยังให้กำลังใจ แล้วตัวเองก็ยังไม่ท้อ ยังพูดถึงลูกอยู่ตลอดว่า “เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก”

.

NCDs Reality ตอนที่8 : คุณ ภูริวัจน์

คุณ ภูริวัจน์ ธรรมอัครวิทย์ (นัท) อายุ 34 ปี

แฟนให้สัมภาษณ์ว่า  “แต่ก่อนเหม็นบุหรี่ตลอด เดินไปทางไหนก็เหม็น กลิ่นมันติดตัวเขา รังเกียจ ไม่ชอบ หนี  ไม่ชอบเลย  เขาก็รู้ว่าไม่ดี แล้วจะสูบทำไมไม่รู้ บางทีก็พูดเสียดสีเขาบ้าง”

“คำพูดของเขา บางทีมันก็บั่นทอนจิตใจผม  เขาไม่รู้หรอก ว่าผมลดบุหรี่ลงได้จาก 20 ตัว เหลือ 10 ตัว มันยากนะ  แต่แค่จุดตัวเดียว  ก็กลายเป็นว่า ผมทำไม่สำเร็จแล้ว  เขาก็บอกว่า เฮ้ยเธอลาออกจากรายการเถอะ  เธอทำไม่ได้หรอก ถ้าไม่ตั้งใจแบบนี้ สัญญาอะไรไว้ แล้วไม่ทำ   แต่หลายครั้งนะ ผมเคยโทรไปที่ทีมงาน เพื่อบอกขอออกจากรายการดีกว่า  มันรู้สึกเราทำไม่ได้  ก็คนรอบข้างบอกเราทำไม่ได้นี่  จะได้ไม่เสียเวลาคนอื่นเขา”

คุณนัท : “การแต่งงานก็เป็นจุดเปลี่ยนของชีัวิตผม  จากที่ไม่เคยดูแลใคร ก็ต้องเริ่มดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัว”  “พอค่อยๆลดบุหรี่ได้  จนไม่ได้สูบแล้ว ก็ดีขึ้น  แฟนก็ไม่บ่นแล้ว แต่เขาอาจจะอดทนอดกลั้นก็ได้นะ”

แฟนคุณนัท : “ก็ไม่ได้มีอะไรต้องบ่นแล้วนี่  ไม่รู้จะบ่นเรื่องอะไร ไม่ได้อดทนอะไร”

คุณนัท : “แฟนผมชมว่าผมหล่อขึ้น”

แฟนคุณนัท : “บ่นน่ะเลิกไปแล้ว  ไม่ว่าอะไรก็ชม  ทำอะไรก็ชมตลอด เดี๋ยวก็บอกว่าหล่อ น่ารักจังเลย  พูดทุกอย่างที่ไม่เคยพูด”

คุณนัท :”ครอบครัวมีความสุขมากครับ”

แฟนคุณนัท :  “รู้สึกว่าเทปที่5 เป็นเทปที่ดูแล้วดูอีกเป็นสิบรอบ  ที่โยนบุหรี่ทิ้ง  แล้วบอกว่าอยากอยู่กับเรานานๆ  ตอนนี้มันเหมือนเริ่มมีผลลัพธ์แล้ว  เขาพูดถึงว่า  เราเป็นตัวช่วยได้  เรามีส่วนช่วยเขา  เราต้องช่วยเขา  เขาก็อยากให้เขาพูดจาดีต่อเขา  เราก็ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ   ตอนแรกก็คิดว่าเขารำคาญเรา ไม่คิดว่าจะอยากอยู่กับเรา  ไม่คิดจริงๆนะ  เขาก็อยากทำอะไรดีๆให้เรา  แต่เราไม่เคยรู้เลย  นึกว่าเขารำคาญเรา  ไม่เคยคิดว่าทำได้ และไม่เคยคิดว่าเขาอยากทำด้วย ก็เลยต่อว่าเขาตลอด” ให้สัมภาษณ์ไปร้องไห้ไป

คุณนัท : “ผมรู้สึกว่าพอเลิกสูบบุหรี่ มันได้สุขภาพ มันเป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ในการเริ่มต้นใช้ชีวิตครอบครัวที่ดี”  “ครอบครัวดี ผมว่าเป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดแล้วครับ”

แล้วแฟนก็เอาของขวัญมาให้กันและกัน หอมแก้มกัน น่ารักเชียว

.

NCDs Reality ตอนที่8 : บทบาทของคนสำคัญ

สรุป

คนใกล้ตัวจะให้กำลังใจก็ได้  หรือจะเลือกทำร้ายความรู้สึก ก็ได้เช่นกัน หากให้เลือกทุกคนก็ย่อมอยากสร้างกำลังใจด้วยกันทั้งนั้น มาร่วมทบทวนวิธีการที่จะสร้างแรงผลักดันให้ห่างไกลจากกลุ่มโรคNCDs  โดยสร้างบทบาท มาเป็นคนสำคัญไปด้วยกัน

การสร้างการเปลี่ยนแปลงบางครั้งมันง่ายกับบางคน แต่บางครั้งมันก็ยากสำหรับหลายคน ยากจนกระทั่ง เพียงแค่ความตั้งใจคงไม่เพียงพอ  ยังต้องการการสนับสนุน เพิ่มพลังบวกจากบุคคลแวดล้อม

บทบาทของคนสำคัญ

1. พูดให้กำลังใจ  ไม่ใช่การบ่นว่า ทำให้อาย แต่ต้องรู้จักชื่นชมความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แม้จะยังเล็กน้อยก็ตาม

2. ร่วมด้วย-ช่วยกันหาเป้าหมาย  เริ่มจากเป้าหมายเล็กๆ ที่ไปให้ถึงได้ไม่ยากนัก เพื่อให้เกิดกำลังใจ ไปถึงเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น

3. ค้นคว้าและแบ่งปันความรู้  ช่วยกันค้นคว้า และแบ่งปันความรู้ดีๆมีประโยชน์  รวมถึงการมีส่วนรวมในกิจกรรม อย่างกระตือรือร้น

4. ทำข้อตกลงในการดูแลกัน   เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ อาจท้าทายการเปลี่ยนแปลงเช่น การสะกิดเตือนกันเบาๆ

5. ให้รางวัลกับความสำเร็จ  การส่งยิ้มให้กำลังใจ  ให้รางวัลเล็กๆน้อยๆ  คำพูดชื่นชมอย่างจริงใจ  หรือการสัมผัสให้กำลังใจ กอดกัน ซึ่งเป็นสิ่งมีค่ามากกว่าเงินทองใดๆ

6. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปพร้อมๆกัน

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.